ดร.เอกชัย กี่สุขพันธ์

อดีตประธาน กพฐ.แจงเหตุครูในประเทศดูแลและสนใจแต่เด็กเก่ง

ดร.อัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า กรณีนักวิชาการสะท้อนข้อมูลจากการสำรวจความคิดเห็นเด็กทั่วประเทศ โดยเฉพาะใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เด็กยากจน เด็กกลุ่มชาติพันธุ์ และเด็กที่อยู่นอกระบบการศึกษา ที่สะท้อนว่าครูในประเทศดูแลและสนใจแต่เด็กเก่งเท่านั้น นอกจากนี้ ยังพบว่าเด็กที่เรียนในระดับชั้น ม.1-3 ถูกผลักออกจากระบบการศึกษากว่า 9 แสนคน สาเหตุที่ทำให้ครูสนใจเฉพาะเด็กเก่ง มาจากระบบการศึกษาที่เน้น 4 เรื่องสำคัญ คือ

1.เน้นความเป็นเลิศ

2.เน้นการแข่งขันที่ต้องได้ที่หนึ่ง

3.เน้นมาตรฐาน และ

4.เน้นประสิทธิภาพ

มองว่าไม่จริง ที่ผ่านมาสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) แบ่งการเรียนการสอนนักเรียนออกเป็น 3 กลุ่ม คือ

1.เด็กที่เรียนช้า จะให้ครูสอนเสริมเพื่อให้เรียนทันเพื่อน

2.เด็กปกติ จะให้ครูต่อยอดเพื่อให้มีความรู้ มีศักยภาพเพิ่มขึ้น และ

3.เด็กเก่ง จะให้ครูต่อยอด ต่อเติมเสริมให้เด็กเหล่านี้เก่งมากยิ่งขึ้น

ดังนั้น ไม่มีทางที่ครูจะสนใจแต่เด็กเก่งเพียงกลุ่มเดียว

ดร.อัมพร พินะสา

ดร.เอกชัย กี่สุขพันธ์ อดีตประธานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า ปัจจุบันจะพบว่าผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) บางแห่ง สั่งโรงเรียนในสังกัดว่าผลสัมฤทธิ์ผลการศึกษาจะต้องสูงขึ้นทุกปี ทำให้ครูต้องเคี่ยวเด็กที่มีศักยภาพไปสอบ เพื่อให้ได้คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้น ดังนั้น การที่ครูสนใจแต่เด็กเก่ง เป็นปัญหาปลายทางเท่านั้น มองว่าครูไม่มีเจตนาที่สนใจแต่เด็กเก่ง แต่ระบบบริหารที่ไปให้คะแนนกับผมสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่างหากที่เป็นปัญหา

“การประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษา ต้องเน้นผลการบริหารสถานศึกษาแบบองค์รวม ไม่ใช่ดูแต่ผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ หรือคะแนนสอบโอเน็ตที่สูงขึ้นทุกปี แต่ต้องดูผลลัพธ์การเรียนรู้ของเด็กทั้งด้านสติปัญญา อารมณ์ สังคม ดูการพัฒนาคุณภาพทุกด้านของสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง เช่น การพัฒนาครู การพัฒนาอาคารสถานที่ สภาพแวดล้อมภายในสถานศึกษาที่ปลอดภัย ปราศจากการคุกคาม และถูกสุขลักษณะ การพัฒนาคุณลักษณะผู้เรียน การพัฒนาความสัมพันธ์กับชุมชน การพัฒนาระบบการบริหารของสถานศึกษา เป็นต้น ต้องประเมินองค์รวมการพัฒนาเด็กทุกด้านตามศักยภาพของเด็ก ให้เด็กมีความสุขในการเรียนรู้ การมาโรงเรียน ต้องสร้างระบบนิเวศสถานศึกษาให้เด็ก ไม่เกิดความรู้สึกถูกด้อยค่า รวมถึง ปลูกฝังให้มีคุณธรรม จริยธรรมควบคู่ไปด้วย” นายเอกชัยกล่าว

นางกุสุมาวดี พลเรืองทอง ผู้อำนวยการโรงเรียนยางตลาดวิทยาคาร จ.กาฬสินธุ์ กล่าวว่า ไม่เป็นความจริง ปัจจุบันโรงเรียนได้รับนโยบายจาก กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ให้ดำเนินการพัฒนาผู้เรียนใน 4 มิติ คือ 1.สถานศึกษาปลอดภัย 2.ตามน้องกลับมาเรียน เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา 3.พัฒนาคุณภาพการศึกษา ที่จะไม่เอาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมาเป็นตัวสะท้อนเท่านั้น แต่จะสอนทักษะชีวิตเด็ก เพื่อให้เด็กมีทักษะชีวิต มีทักษะอาชีพ สามารถอยู่รอดปลอดภัยได้ และ 4.กระจายอำนาจอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งที่ผ่านมาโรงเรียน และครูใส่ใจนักเรียนทุกคน กำหนดการเรียรการสอนให้มีทั้งวิชาการ และกิจกรรม คือ เช้าเรียนวิชาการ บ่ายให้เล่น หรือให้ทำกิจกรรมที่ชอบ และเย็นให้กลับบ้าน

“ที่เด็กสะท้อนว่าครูสนใจแต่เด็กเก่งนั้น ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะไม่ได้มองรอบด้าน ครูทุกคนใส่ใจเมตตาลูกศิษย์เสมอ และเมื่อ ศธ.กำหนดนโยบายให้สถานศึกษาปลอดภัย เราจะมีระบบสแกนนักเรียนทุกคนว่ามีนักเรียนยากจนหรือไม่ มีบ้านหรือไม่ หากไม่มี โรงเรียนจะสนับสนุนทุนให้นักเรียนสามารถเรียนต่อได้ เช่น ทุนสนับสนุนปัจจัยพื้นฐานให้นักเรียนยากจนพิเศษ เป็นต้น ที่บอกว่าครูสนใจแต่เด็กเก่งนั้น ไม่จริง ที่จริงแล้วครูไม่สนใจเด็กเก่งด้วยซ้ำ เพราะไม่มีอะไรจะตำหนิเด็กเหล่านี้ แต่จะเข้าไปเติมเต็มความรู้ และครูจะใส่ใจเด็กที่เรียนไม่เก่ง เด็กหลังห้องมากกว่า โดยจะเข้าไปรับฟังปัญหา ช่วยเหลือเด็กรอบด้าน ดูแลเด็กทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน เพราะถ้าครูไม่รัก จะไม่สนใจ จะมองข้ามไป ไม่เห็นคุณค่า” นางกุสุมาวดีกล่าว

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ stefanogetzel.com

แทงบอล

Releated